การตั้งFontให้เอกสารในอนาคต แก้ไขปัญหาFont ไม่เหมือนกันในเอกสาร

การตั้งFONT ให้เอกสารในอนาคต

ท่านเคยไหมเวลาเราเปิดโปรแกรม MS word ขึ้นมาแล้วแทนที่เราจะได้พิมพ์เอกสารแล้วได้Fontที่ต้องการเลยกลับ ต้องไปแก้ไขตัวอักษรให้เป็นแบบที่เราต้องการอีกครั้ง วันนี้เรามีวิธีการเซ็ตค่าให้font นั้นเป็นเอกสารเริ่มต้นตลอดกาลเลยมาดูวิธีกัน 1. เปิดโปรแกรมMS word ขึ้นมา แล้วทำการเลือกแบบและขนาดที่เราต้องการ ในที่นี้ผมเซ็ตค่าเป็น TH SarabunPSK ขนาด 16

2. กดปุ่มนี้ แล้วจะแสดงหน้าต่างให้เลือกแล้วเลือก ตั้งเป็นค่าเริ่มต้น

3. เลือกเอกสารทั้งหมดที่มีพื้นฐานบนแม่แบบปกติ… แล้วก็ ตกลงเลยครับ

4. จากนั้นเอกสารครั้งต่อไปจะเป็นfontที่้เราเลือกไว้แบบน่าอัศจรรย์เลยครับลองเปิดดูนะครับ

“ท่านั่ง” พิชิตอาการปวดเมื่อย

ที่มา : เว็บไซต์ไทยรัฐ,สสส.

 

“ท่านั่ง” พิชิตอาการปวดเมื่อย thaihealth

รู้ไหมว่า อาการปวดหลังเพราะนั่งนาน มีสาเหตุสำคัญมาจาก การนั่งที่ “ผิดท่า” อาทิ

           การนั่งเอนพิงพนักโดยเว้นที่ว่างระหว่างสะโพกกับพนักพิง ส่งผลให้กระดูกสันหลังช่วงล่างงอเป็นทรงโค้ง   การนั่งหลังค่อม นั่งห่อไหล่ ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก เมื่อย เกร็งอยู่ตลอดเวลา  กรณีมีการใช้งานอุปกรณ์ประเภทจอภาพประเภทต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ แสงจากหน้าจออาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ การจับเมาส์ด้วยท่าทางที่ผิดธรรมชาติเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานๆ หรือการเล่นมือถือในท่าเดิมซ้ำๆ อาจส่งผลร้ายแรงไปถึงขั้น อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท หรือเส้นเอ็นอักเสบ เกิดพังผืดยึด นิ้วล็อก หรือข้อมือล็อกได้

สำหรับผู้ที่มีไลฟ์สไตล์ชอบนั่งท่าเดิมๆ ติดกันวันละหลายๆ ชั่วโมง สามารถปกป้องสุขภาพของตนเอง ด้วยท่านั่งที่ถูกต้องได้ ดังนี้

          1. นั่งหลังตรง นั่งให้เต็มก้นคือหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ การนั่งพิงพนัก ช่วยเรื่องการจัดระเบียบหลัง ทำให้หลังตรงโดยอัตโนมัติตามแนวของพนักพิง แต่ถ้าไม่ได้นั่งพิงพนัก ต้องพยายามฝึกนั่งหลังตรงตลอดเวลา

          2. ยืดไหล่ ตั้งคอตรง

          3. หากที่นั่งของเก้าอี้ลึกเกิน อาจจะหาหมอนหนุน เพื่อช่วยให้หลังตรงได้

          4. ควรเลือกขนาดของโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะสมพอดีกับสรีระ สะโพกและขาต้องตั้งฉากกัน

          5. หากเก้าอี้สูงเกินไปและปรับระดับไม่ได้ ควรหาม้านั่งตัวเล็กไว้ใต้โต๊ะเพื่อวางเท้า

         6. ปรับระดับจอภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ให้อยู่ในระดับสายตา

         7. จอภาพ ควรห่างจากตา 12-18 นิ้ว

         8. แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอกและข้อมือ

         9. ใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่ 

           และนอกจากนี้ ควรกะพริบตาบ่อยๆ ขณะใช้คอมพิวเตอร์หรือมองหน้าจอมือถือ เปลี่ยนอิริยาบถ ลุกเดิน และละสายตาจากจอคอมพิวเตอร์และมือถือทุก 45 นาที รวมถึงออกกำลังกายเป็นประจำ เพียงแค่นี้ท่านก็จะห่างไกลจากอาการบาดเจ็บจากการนั่งผิดท่านานๆ แล้ว

         หมายเหตุ: ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือมีโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านก่อนทำท่าออกกำลังกายดังที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อให้แน่ใจว่าท่าทางการ ออกกำลังจะไม่เป็นอันตรายต่อภาวะสุขภาพที่ท่านเป็นอยู่ และควรใช้ความระมัดระวังในการทำท่าออกกำลังกาย โดยให้ทำท่าต่างๆ อย่างช้าๆ และไม่ทำท่าเหยียดยืดที่รุนแรงหรือมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกได้

เชื้อก่อโรคในส้มตำหอยดอง

ที่มา : เว็บไซต์ไทยรัฐ

เชื้อก่อโรคในส้มตำหอยดอง thaihealth

ส้มตำ เป็นอาหารที่รับประทานได้ทุกมื้อ ทุกที่ ทุกเวลา เนื่องจากเป็นอาหารที่หารับประทานง่ายและปรุงเองได้ง่ายตามใจชอบโดยสามารถใส่วัตถุดิบได้หลากหลายชนิด

        เรามักเรียกชื่อส้มตำแต่ละชนิดตามวัตถุดิบ เช่น ส้มตำมะม่วง ส้มตำแตง ส้มตำถั่ว ส้มตำปูปลาร้า ส้มตำกระท้อน ส้มตำหอยดอง เป็นต้น

        หลายคนมักจะตั้งคำถามและพิพากษาให้ส้มตำเป็นอาหารที่ต้องเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย เหตุเพราะบางรายทานแล้วเกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย ขั้นเบาถึงขั้นรุนแรง นั่นเป็นเรื่องที่ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ สาเหตุของอาการดังกล่าว เกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ก่อโรคที่มีอยู่ในอาหาร และที่มักพบบ่อยและคุ้นหู คือ วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส

         เชื้อก่อโรคชนิดนี้ เป็นเชื้อที่มักพบปนเปื้อนในอาหารทะเล และตามธรรมชาติ ดิน แม่น้ำ ทะเล อากาศ เมื่อนำอาหารทะเลมาใช้เป็นวัตถุดิบปรุงอาหาร หรือหากมือผู้ปรุงสัมผัสกับเชื้อ เมื่อเราทานอาหารเข้าไป ร่างกายก็จะได้รับอันตรายจากเชื้อก่อโรคเข้าไปด้วย เชื้อชนิดนี้มีระยะฟักตัว 4-96 ชั่วโมง หลังจากที่ทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเข้าไป ส่วนใหญ่อาการจะเกิดประมาณ 15 ชั่วโมงหลังจากได้รับเชื้อ อาการทั่วไปคือ ท้องเสีย เป็นตะคริว อาเจียน มีไข้หนาวสั่น

วันนี้ สถาบันอาหารทำการสุ่มเก็บตัวอย่างส้มตำหอยดองตามร้านขายส้มตำ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของ เชื้อ วิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส ผลปรากฏว่าไม่พบการปนเปื้อนในส้มตำหอยดองทุกตัวอย่าง วันนี้ท่านที่โปรดปรานส้มตำหอยดองก็คงสบายใจกันได้