กำหนดใช้งานโปรแกรม Cockpit 61 และตัวชี้วัด QOF 61 ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2560

กำหนดใช้งานโปรแกรม Cockpit 61 และตัวชี้วัด ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2560  คลิ๊ก

ขอเชิญชวน ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ทุกหมู่เหล่า ร่วมสมัครจิตอาสาเฉพาะกิจ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ฯ

นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร กล่าวว่า เพื่อให้การดำเนินงานในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จึงขอเชิญชวน ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ทุกหมู่เหล่า ร่วมสมัครจิตอาสาเฉพาะกิจ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ฯ ” เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” สำหรับงานที่ให้จิตอาสาทำก็คือ งานดอกไม้จันทน์ , งานประชาสัมพันธ์ , งานโยธา , งานขนส่งเพื่อความปลอดภัยของประชาชน , งานบริการประชาชน , งานแพทย์ , งานรักษาความปลอดภัยและงานจราจร สำหรับปฏิบัติงาน ณ จุดที่เราสมัคร

สำหรับผู้ที่สนใจสมัครได้แล้วในระหว่างวันที่ 1 – 30 กันยายน 2560 เวลา 08.00 – 16.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ ณ ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ ระยะเวลาที่จิตอาสาต้องปฏิบัติงานได้ในระหว่างวันที่ 18 – 30 ตุลาคม 2560 หลังงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ จิตอาสาทั้งในและต่างประเทศจะได้รับสิ่งของพระราชทานในระหว่างวันที่ 7 – 12 ตุลาคม 2560 โดยรับพระราชทานหน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ณ สถานที่ลงทะเบียน

แจ้งเตือนระวังไวรัสเข้ารหัสระบาดหนัก อย่ากดรับอะไรมั่วๆ โดยเฉพาะเอกสารที่ส่งมากับเมลของท่าน

เตรียมพร้อมรับมือ

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติในภาพอาจจะมี ข้อความไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ
ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ
ในภาพอาจจะมี ข้อความ

สิ่งที่ SysAdmin ต้องทำโดยด่วนในขณะนี้ เพื่อป้องกัน #มัลแวร์เรียกค่าไถ่#WannaCrypt ที่สร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลกในขณะนี้

* ท่านที่ดูแลห้องแล็ปคอมฯ หรือดูแลศูนย์สารสนเทศองค์กรที่ใช้ Windows XP, 7, 8, 10 หรือฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ Win server 2003, 2008, 2012, 2016 #รีบอัปเดทโดยด่วนก่อนจะโดนมัลแวร์ยึดเครื่องทั้งองค์กร จะเป็นเหตุให้แก้ปัญหายากกว่านี้มากมาย

>> ลิ้งอัปเดทแพตช์ระบบ Windows
Link1: https://technet.microsoft.com/…/libr…/security/ms17-010.aspx
Link2 : https://blogs.technet.microsoft.com/…/customer-guidance-fo…/

หมายเหตุ
ในกรณีที่กลัวอัปเดทไม่ทัน หรือมีทีมงานไอทีจำกัด ให้ปิดการใช้งาน SMB ไปก่อน (โดยเฉพาะเครื่องที่ระบบเป็น Windows XP สำคัญมาก)

ขั้นตอน
วิธีที่ 1
1. คลิกที่ Start > Control Panel > Program and Features > Turn Windows features on or off
[ ] SMB 1.0/CIFS File Sharing Support (ยกเลิก / )
2. คลิกปุ่ม OK

วิธีที่ 2
1. ปิดพอร์ต TCP/UDP SMB หมายเลข 135-139 และ 445 (ที่ firewall)

————————
กรณีไม่ทำการแก้ไขเครื่องสุ่มเสี่ยงต่อการที่มัลแวร์เรียกค่าไถ่ WannaCrypt เจาะเข้าระบบจากรูรั่วของ windows ทีไม่อัปเดทแพตช์
———————–
ลิงค์ตรวจสอบการแพร่กระจายของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ WannaCrypt
Link1: https://intel.malwaretech.com/botnet/wcrypt

Link2: https://intel.malwaretech.com/WannaCrypt.html
———————

> ฟอร์แมตไฟล์ที่จะถูกเข้ารหัส เปลี่ยนเป็นนามสกุล .WCRY
.lay6
.sqlite3
.sqlitedb
.accdb
.java
.class
.mpeg
.djvu
.tiff
.backup
.vmdk
.sldm
.sldx
.potm
.potx
.ppam
.ppsx
.ppsm
.pptm
.xltm
.xltx
.xlsb
.xlsm
.dotx
.dotm
.docm
.docb
.jpeg
.onetoc2
.vsdx
.pptx
.xlsx
.docx

อ่านต่อได้ที่ http://www.cyberswachhtakendra.gov.in/…/wannacry_ransomware…

หมายเหตุ2
WannaCrypt นับเป็นภัยอันตรายที่ส่งผลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกพร้อมๆ กันเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว ระวังข้อมูลองค์กร ข้อมูลตนเอง และระวังตัวด้วยนะครับ จริงๆ พนักทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน คนละม้ายคนละมือ อย่าฝากความหวังไว้ที่ SysAdmin หรือไอทีเพียงอย่างเดียว เห็นใจคนทำงานสายนี้จริงๆ

ขอให้สนุกกับการทำงาน การแก้ปัญหา ตัดเน็ตเวิร์ค และปิดการทำงานของ SMB1 บนระบบ Windows เช้าวันจันทร์นี้ (15 May 2017)อย่าลืมออกประกาศไปถึงพนักงานทุกคนด้วย มันไม่ช่ายเรื่องเล่นๆ เรื่องใหญ่มากกกกกก อย่าวัวหายแล้วล้อมคอก 🙂

#DrArnutTips

หญ้าแฝก สรรพคุณและประโยชน์ของหญ้าแฝกหอม 20 ข้อ ! และการปลูก

หญ้าแฝก

หญ้าแฝก

หญ้าแฝก ชื่อสามัญ Vetiver grass, Khuskhus, Cuscus, Sevendara grass[1]

หญ้าแฝก ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysopogon zizanioides (L.) Roberty (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Vetiveria zizanioides (L.) Nash) จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)[1]

สมุนไพรหญ้าแฝก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หญ้าแฝกหอม (นครราชสีมา, ภาคกลาง), แกงหอม แคมหอม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น[1]

หญ้าแฝกมีอยู่ในโลกประมาณ 11-12 ชนิด แต่ในประเทศไทยพบว่ามีอยู่เพียง 2 ชนิด คือ หญ้าแฝกหอมหรือหญ้าแฝกลุ่ม (Chrysopogon zizanioides (L.) Roberty) และหญ้าแฝกดอน (ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysopogon nemoralis (Balansa) Holttum (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Vetiveria nemoralis (Balansa) A.Camus)) ในธรรมชาติเราจะพบหญ้าแฝกทั้งสองชนิดนี้ได้ทั่วไป เพราะขึ้นได้ดีในสภาพพื้นที่ทั้งที่ลุ่มและที่ดอน ในดินสภาพต่าง ๆ จากความสูงใกล้กับระดับน้ำทะเลไปจนถึงระดับประมาณ 800 เมตร และถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของพืชชนิดนี้สันนิษฐานว่าอยู่ในประเทศอินเดีย[3]

ความแตกต่างระหว่างหญ้าแฝกหอมและหญ้าแฝกดอน

หญ้าแฝกทั้งสองชนิดจะมีลักษณะภายนอกของใบที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้

  • หญ้าแฝกหอม ใบมีความกว้างประมาณ 0-6-1.2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 45-100 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบโค้งปลายแบน เนื้อใบค่อนข้างเนียน มีไขเคลือบทำให้ดูมัน ส่วนท้องใบจะออกเป็นสีขาวซีดกว่าหลังใบ[3]
  • หญ้าแฝกดอน ใบมีความกว้างประมาณ 0.4-0.8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 35-80 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวซีด หลังใบพับเป็นสันสามเหลี่ยม เนื้อใบหยาบสากมือ มีไขเคลือบน้อยทำให้ดูกร้าน ส่วนท้องใบจะเป็นสีเดียวกับหลังใบ แต่จะมีสีซีดกว่า[3]
  • สำหรับลักษณะโครงสร้างภายนอกเมื่อทำการเปรียบเทียบจะพบว่า ใบหญ้าแฝกหอมจะมีเนื้อใบหนากว่า และขนาดของช่องอากาศก็มีขนาดใหญ่กว่าหญ้าแฝกดอนด้วย[3]
  • ส่วนความแตกต่างของลักษณะภายในรากที่เห็นได้ชัดเจน คือ รากหญ้าแฝกหอมจะมีโพรงอากาศในบริเวณคอร์เทกซ์ และมีขนาดที่ใหญ่กว่าหญ้าแฝกดอน[3]

ต้นหญ้าแฝก

ลักษณะของหญ้าแฝก

  • ต้นหญ้าแฝก จัดเป็นไม้จำพวกหญ้า มีอายุหลายปี เป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอแน่น ใบยาวตั้งตรงขึ้นได้สูงประมาณ 1-2 เมตร กอแฝกจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ โคนกอเบียดแน่นไม่มีไหล ส่วนโคนของลำต้นจะแบน โดยเกิดจากส่วนของโคนใบที่แบนเรียงซ้อนกัน และลำต้นแท้จะมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ในกาบใบบริเวณคอดิน มีรากเหง้าเป็นฝอยอยู่ใต้ดินและมีกลิ่นหอม มักพบขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ หรือขึ้นกระจายกันแต่ไม่ไกลกันมากนัก ส่วนการเจริญและแตกกอพบว่าจะมีการแตกหน่อใหม่ทดแทนต้นเก่าอยู่เสมอ โดยจะแตกหน่อออกทางด้านข้างรอบ ๆ กอ ในบ้านเราจะพบหญ้าแฝกได้มากที่โล่งแจ้ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีความชื้นสูง หรือใกล้น้ำ และในป่าเต็งรัง[1],[3]

แฝกหอม

  • รากหญ้าแฝก รากมีลักษณะเป็นรากฝอยที่แตกจากส่วนของลำต้นใต้ดิน โดยจะกระจายแผ่กว้างออกเพื่อยึดพื้นดินไปตามแนวนอน การเจริญของระบบรากจะเป็นไปในแนวดิ่ง แต่จะเจาะไม่ลึกมาก และจะแตกต่างจากรากหญ้าทั่วไป คือมีรากที่เจริญโตเร็ว สานกันแน่น หยั่งลึกในแนวดิ่งลงใต้ดินไม่แผ่ขนาน และมีรากฝอยขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อหญ้าแฝกมีอายุได้ประมาณหนึ่งปีครึ่ง รากจะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ รากแกนส่วนโคนกอจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และเปลือกรากจะมีลักษณะอวบน้ำคล้ายกับนวม ช่วยทำหน้าที่เพิ่มความหนา เพิ่มความแข็งแรง ช่วยดูดน้ำและความชื้น และช่วยป้องกันส่วนลำเลียงน้ำและสารอาหารที่อยู่ภายใน[3]

รากหญ้าแฝก

  • ใบหญ้าแฝก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ โดยใบจะแทงออกมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของใบเรียวยาวหรือแคบยาว ขอบใบขนาดปลายใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 120 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ ท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ เนื้อใบกร้านสากและคายมือ โดยเฉพาะใบแก่ ขอบใบและเส้นกลางใบจะมีหนามละเอียด หนามบนใบที่ส่วนโคนและกลางแผ่นใบจะมีน้อย โดยหนามจะมีลักษณะตั้งทแยงชี้ขึ้นไปทางปลายใบ ส่วนกระจังหรือเยื่อกันน้ำฝนที่โคนใบจะลดรูปเหลือเพียงแผ่นโค้งของขนสั้นละเอียด แต่จะมีมากตรงปลาย ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น[1],[3]

ใบหญ้าแฝก

  • ดอกหญ้าแฝก ออกดอกเป็นช่อตั้งลักษณะเป็นรวง โดยจะออกบริเวณปลายยอด ก้านช่อดอกยาวกลมยื่นพ้นจากลำต้น ก้านช่อดอกและรวงจะมีความสูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร (หรืออาจถึง 200 เซนติเมตรในต้นที่มีความสมบูรณ์) และเฉพาะในช่วงของช่อดอกหรือรวงจะสูงประมาณ 20-40 เซนติเมตร แผ่กว้างเต็มที่ได้ประมาณ 10-15 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก มีขนาดเล็กและเป็นสีม่วงอมเขียว หญ้าแฝกจะมีดอกหญ้าเรียงตัวกันอยู่ด้วยเป็นคู่ ๆ โดยจะมีลักษณะและขนาดที่ใกล้เคียงกัน ในแต่ละคู่จะประกอบไปด้วยดอกที่ไม่มีก้านและดอกที่มีก้าน ยกเว้นตรงส่วนปลายของก้านช่อย่อยที่มักจะเรียงเป็น 3 ดอกอยู่ด้วยกัน โดยดอกที่มีก้านจะชูอยู่ด้านบนและเป็นดอกเพศผู้ที่มีแต่เกสรอยู่ด้านใน ส่วนดอกที่ไม่มีก้านจะอยู่ด้านล่างและเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ และในแต่ละดอกจะประกอบไปด้วยดอกย่อยอีก 2 ดอก ซึ่งส่วนมากจะมีการลดรูปหรือเจริญไม่สมบูรณ์จนเหลือแต่ดอกย่อยเพียงดอกเดียวกับดอกย่อยเปล่า ๆ ที่มีแต่กาบคลุมอยู่ ดอกหญ้าแฝกจะมีลักษณะเป็นรูปกระสวย ปลายสอบ ดอกมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 2.5-3.5 มิลลิเมตร ด้านหลังดอกมีผิวขรุขระ มีหนามแหลมขนาดเล็ก โดยเฉพาะที่บริเวณขอบ[1],[3]

ดอกหญ้าแฝก

  • ผลหญ้าแฝก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก[1] ผลหญ้าแฝกจะเป็นแบบ Caryopsis เมื่อดอกได้รับการผสมแล้ว ดอกที่ไม่มีก้านดอกที่เป็นดอกสมบูรณ์ก็จะติดเมล็ด เมล็ดจะมีลักษณะเป็นรูปกระสวย หัวท้ายมน ผิวเรียบ เปลือกบาง เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร โดยดอกหญ้าแฝกจะสามารถติดเมล็ดได้เพียงร้อยละ 50 เท่านั้น เนื่องจากในแต่ละช่อดอกจะมีดอกสมบูรณ์เพศประมาณครึ่งหนึ่ง ประกอบกับการสุกของเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียที่อยู่ในดอกเดียวกันหรือต่างดอกกันมักจะไม่สัมพันธ์กัน ทำให้โอกาสที่จะผสมพันธุ์กันนั้นมีน้อย[3]

สรรพคุณของหญ้าแฝก

  1. รากมีรสหอม ช่วยทำให้ดวงจิตชุ่มชื่น (ราก)[1]
  2. รากช่วยแก้โรคประสาท ส่วนกลิ่นของรากช่วยกล่อมประสาท (ราก)[4]
  3. น้ำมันหอมระเหยช่วยทำให้นอนหลับ ทำให้สงบ (น้ำมันหอมระเหย)[4]
  4. ช่วยบำรุงโลหิต (ราก)[4]
  5. ช่วยแก้โลหิตและดี (ราก)[4]
  6. รากมีสรรพคุณเป็นยาลดไข้ แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้อันเกิดแต่ซาง แก้ไข้อภิญญาณ (ราก)[1],[2],[4] ส่วนหัวมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้หวัด (หัว)[4]
  7. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ราก)[1],[2],[4]
  8. ช่วยแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ราก, หัว)[4]
  9. รากใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืด จุกเสียด ทำให้หาวเรอ (ราก, หัว)[1],[2],[4]
  10. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก, หัว)[1],[2],[4]
  11. ช่วยแก้คุดทะราด (ราก)[4]
  12. ช่วยแก้ร้อน (ราก, หัว)[4]
  13. ใช้ต้มอาบทำให้กระชุ่มกระชวย (ราก)[4]
  14. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย (หัว)[4]
  15. รากหญ้าแฝกจัดเป็นส่วนประกอบของตำรับยารักษาอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือตำรับยาแก้ลม เช่น ในตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” (ตำรับยาแก้ลมกองละเอียด เช่น อาการหน้ามืดตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น) และในตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” (ตำรับยาแก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมปลายไข้)[4]
  16. หญ้าแฝกเป็นส่วนประกอบของตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ตำรับ “ยาประสะกานพลู” (ตำรับยาแก้อาการปวดท้อง จุกเสียดแน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อยเนื่องจากธาตุไม่ปกติ) และใน “ตำรับยาเขียวหอม” (ตำรับยาบรรเทาอาการไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษสุกใส)[4]
  17. นอกจากนี้ยังมีปรากฏอยู่ในตำรับ “ยามโหสถธิจันทน์” (ใช้เข้าเครื่องยาแฝกหอมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอีก 15 ชนิด แล้วนำมาบดให้ละเอียดทำเป็นแท่ง ใช้น้ำดอกไม้เป็นกระสาย ใช้ชโลมตัวหรือกินเป็นยาแก้ไข้) และยังปรากฏอยู่ในตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย ที่นำมาใช้เป็นยาลดไข้ แก้กระหาย และแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนในประเทศศรีลังกาจะเป็นที่รู้จักว่าเป็นน้ำมันที่ช่วยให้ระงับสงบ หรือ “Oil of tranquility”[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าแฝก

  • องค์ประกอบทางเคมีที่พบ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย (Vetiver oil) ประมาณ 0.3-1% โดยประกอบไปด้วยสาร vetiverol ประมาณ 50-75%, alpha-vetivone 4.36%, beta-vetivenene, beta-vetivone, khusimol[4]
  • น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ทำให้ผิวหนังร้อนแดงอย่างอ่อน ทำให้นอนหลับ ทำให้สงบ[4]
  • หญ้าแฝกมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน ต้านมาลาเรีย ต้านยีสต์ ยับยั้งเชื้อรา ไล่แมลง ฆ่าเห็บโค[4]
  • จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากรากหญ้าแฝกด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูทดลองกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 7,143 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน และให้โดยวิธีการฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังของหนูทดลองในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่พบว่ามีความเป็นพิษ[4]

ประโยชน์ของหญ้าแฝก

  1. หญ้าแฝกหอมเป็นพืชที่สะสมน้ำมันหอมไว้ในส่วนของราก คนไทยสมัยก่อนจึงใช้รากของหญ้าแฝกเป็นเครื่องหอมสำหรับอบเสื้อผ้า แก้กลิ่นอับในตู้เสื้อผ้า ใช้ขับไล่แมลง ด้วยการใช้รากแห้งนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้า และยังใช้ผสมกับน้ำมันให้เกิดกลิ่นหอม หรือนำไปผลิตเป็นเครื่องสำอางต่อไป[3]
  2. คุณสมบัติของหญ้าแฝก เนื่องจากภายในของรากหญ้าแฝกมีลักษณะเหมือนกับรากของพืชน้ำ มันจึงสามารถทนต่อน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี จึงนำมาใช้ปลูกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์เพื่อช่วยแก้ปัญหาและป้องกันการพังทลายของดิน เพื่อป้องกันความเสียหายของชั้นบันไดดินหรือคันคูคลองรับน้ำรอบเขา เพื่อป้องกันรักษาการกัดเซาะของน้ำจากแม่น้ำบริเวณคอสะพาน เพื่อป้องกันตะกอนดินลงสู่ทางน้ำ ปลูกเพื่อแก้ปัญหาดินดาน ฟื้นฟูดิน เพื่อควบคุมมลพิษ รักษาสภาพแวดล้อม หรือใช้ปลูกเป็นแถวตามแนวระดับ ขวางความลาดเท เป็นต้น[3]
  3. ส่วนประโยชน์ของหญ้าแฝกหอมอื่น ๆ เช่น การนำมาเย็บเป็นตับเพื่อใช้มุงหลังคา ใช้ในคอกสัตว์ รองนอนให้เล้าสัตว์เลี้ยง ใบใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ใช้เพาะเห็ด ทำเป็นปุ๋ยหมักและพืชคลุมดิน หรือใช้รากนำมาทำพัด สำหรับพัดให้ความเย็นและให้กลิ่นหอมเย็น และใช้ในงานหัตถกรรมต่าง ๆ ทำเชือก หมวก ตะกร้า เครื่องประดับ เครื่องตกแต่งบ้าน ของใช้สำนักงาน ไม้อัด งานประดิษฐ์ งานจักสาร ฯลฯ[3]

รากแฝกหอม

References
  1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “แฝก (Faek)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 188.
  2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “แฝกหอม”.  หน้า 206.
  3. นิตยสารเกษตรศาสตร์.  “หญ้าแฝกหอม”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.ku.ac.th/e-magazine/november45/.  [01 พ.ค. 2014].
  4. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “แฝกหอม”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com.  [01 พ.ค. 2014].

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by 阿, stefanottomanski, Ayala Moriel), www.kasetporpeang.com (by thidajan), www.haii.or.th, www.rdpb.go.th

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

 

สำหรับวิธีการปลูกหญ้าแฝกนั้นมีคำแนะนำในwebsite

เว็บไซต์หญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ – กรมพัฒนาที่ดิน

 

1 66 67 68